การทดลองในหนูขาวทั้ง 2 เพศ จำนวน 61 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมอายุน้อย (อายุ 3 เดือน) จำนวน 12 ตัว กลุ่มควบคุมอายุมาก (อายุ 15 เดือน) จำนวน 7 ตัว ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้ ไม่ถูกหนี่ยวนำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ และได้รับน้ำเกลือ (normal saline) ส่วนอีก 4 กลุ่มคือ กลุ่ม model จำนวน 9 ตัว กลุ่มได้รับสารซาโปนินส์จากโสมขนาด 200 มก./กก. จำนวน 10 ตัว กลุ่มได้รับสารซาโปนินส์จากโสมขนาด 100 มก./กก. จำนวน 11 ตัว และกลุ่มได้รับยา Huperzine A (ยายับยั้งเอนไซม์ cholinesterase) ขนาด 0.3 มก./กก. จำนวน 12 ตัว โดยทั้ง 4 กลุ่มนี้ ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะแก่ และโรคอัลไซเมอร์ด้วยการได้รับสาร D-galactose ความเข้มข้น 9.6 ก./ลิตร ขนาด 5 มล./กก. และสาร ibotenic acid ความเข้มข้น 5 ก./ลิตร ขนาด 1 ไมโครลิตร พบว่าหลังการทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หนูกลุ่มที่ได้รับสารซาโปนินส์จากโสมมีความสามารถในการเรียนรู้และความจำที่ดีขึ้น กลไกที่เกี่ยวข้องคาดว่ามาจากการชะลอการลดลงของสาร cholinergic เอนไซม์ choline acetyltransferase และระดับของ synapsin protein ในระบบประสาท ซึ่งเทียบเท่ากับยา Huperzine A โดยที่ผลของสารซาโปนินส์ไม่ขึ้นกับขนาดของยา
Neural Regeneration Research 2008; 3(1): 37-40