ผลของการดื่มกาแฟและความเครียดที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และการตื่นตัวในสตรีที่ติดและไม่ติดกาแฟ

การศึกษาผลของกาแฟที่มีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดและการตื่นตัวก่อนและหลังจากเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 20 คน ที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่ติดกาแฟ 10 คน (ดื่มกาแฟน้อยกว่า 2 แก้ว หรือกระป๋อง/สัปดาห์) และกลุ่มที่ติดกาแฟ 10 คน (ดื่มกาแฟอย่างต่ำ 2 แก้ว หรือกระป๋อง/วัน) ทดลองโดยให้ดื่มกาแฟ 1 ถ้วย ขนาด 12 ออนซ์ (350 มล.) ซึ่งมีปริมาณคาเฟอีน เท่ากับ 140 มก. ทำการวัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และการตื่นตัว ใน 3 ช่วงการทดลอง คือ ก่อนดื่มกาแฟ หลังดื่มกาแฟ 50 นาที และหลังจากดื่มกาแฟแล้วเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดจากการทำงาน (Thurstone Word Fluency Test) พบว่าหลังดื่มกาแฟ กลุ่มที่ไม่ติดกาแฟ จะมีความดันโลหิต (ความดันบนและความดันล่าง) เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มที่ติดกาแฟจะมีความดันล่างเพิ่มขึ้นอย่างเดียว ในทั้ง 2 กลุ่มจะมีความตื่นตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง การทดลองในช่วงหลังจากดื่มกาแฟแล้วเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียด พบว่าให้ผลเช่นดียวกัน แสดงว่ากาแฟและความเครียดมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และการตื่นตัวทั้งในกลุ่มที่ติดและไม่ติดกาแฟ

Nutrition Research 2008;28:609-14