การศึกษาในหนูขาวโดยแบ่งหนูขาวออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมให้กินสารละลายกลูโคส (Isocaloric glucose solution) กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารละลายเอทานอล (20% น้ำหนัก/ปริมาตร) ขนาด 5 ก./กก./วัน กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลขนาด 250 มก./กก./วัน ร่วมกับสารละลายกลูโคส กลุ่มที่ 4 และ 5 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลขนาด 250 และ 500 มก./กก./วัน ร่วมกับสารละลายเอทานอลขนาด 5 ก./กก./วัน ตามลำดับ นาน 4 สัปดาห์ (เอทานอลให้นาน 3 สัปดาห์) พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับเอทานอลเพียงอย่างเดียว สารสกัดลูกใต้ใบขนาด 250 และ 500 มก./กก./วัน ในหนูกลุ่มที่ 4 และ 5 ที่เหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษที่ตับด้วย เอทานอลสามารถลดระดับการเกิด lipid peroxidation ได้ 29.10 และ 45.67% ตามลำดับ และยังสามารถเพิ่มระดับการทำงานของเอนไซม์ reduced glutathione (GSH), superoxide dimutase (SOD), catalase (CAT) ในตับ โดยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดลูกใต้ใบขนาด 250 มก./กก./วัน สามารถเพิ่มระดับการทำงานของเอนไซม์ GSH, SOD และ CAT ได้ 27.60, 36.36 และ 28.61% ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารสกัดลูกใต้ใบขนาด 500 มก./กก./วัน สามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าวได้ 81.60, 51.03 และ 37.41% ตามลำดับ และหนูในกลุ่มที่ 4 และ 5 ยังสามารถลดการทำงานของเอนไซม์ glutathione-S transferase ได้ 28.19 และ 47.99% นอกจากนี้ยังพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดลูกใต้ใบ 250 มก./กก./วัน ร่วมกับ เอทานอล (กลุ่มที่ 4) การทำงานของเอนไซม์ alanine transaminase (ALT) aspartate transaminase (AST) และ alkaline phosphatase (ALP) ในตับเพิ่มขึ้น 12.68, 42.35 และ 40.01% ตามลำดับ ในขณะที่ ALT และ AST ในพลาสมาลดลง 41.38 และ 51.90% เช่นเดียวกับหนูในกลุ่มที่ 5 ที่ได้รับสารสกัดลูกใต้ใบ 500 มก./กก./วัน ร่วมกับเอทานอล ระดับของ ALT, AST และ ALP ในตับเพิ่มขึ้น 42.35, 21.63 และ 116.9% ในขณะที่ค่า ALT และ AST ในพลาสมาลดลง 51.90 และ 51.20% จากการศึกษาสรุปได้ว่าสารสกัดใบของลูกใต้ใบด้วยเมทานอลสามารถป้องกันการถูกทำลายของตับในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษที่ตับได้
Food Chem Toxicol 2008;46:2658-64