ผลของมะละกอหมักต่อการลดอนุมูลอิสระในเซลล์เลือดที่เป็นธัลลัสซีเมีย

เมื่อนำสารละลายมะละกอหมัก (fermented papaya preperation ; FPP) ที่ความเข้มข้นต่างๆกัน 0 -10 มก./มล. มาทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเซลล์อิสระ และในเซลล์เลือดของผู้ป่วยที่เป็นธัลลัสซีเมีย โดยใช้ 2′-7′-dichlorofluorescin-diacetate (DCF) พบว่า FPP สามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระในเซลล์อิสระทั้งใน DCF ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดออกซิเดชันด้วย hydrogen peroxide และใน spontaneous DCF oxidation และในเซลล์เลือดของผู้ป่วยที่เป็นธัลลัสซีเมีย FPP สามารถเพิ่มปริมาณ glutatione ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว polymorphonuclear leukocytes (PMN) และลดการเกิดอนุมูลอิสระ reactive oxygen species , lipid peroxidation และ externalization phospatidylserine ซึ่งการออกฤทธิ์เหล่านี้จะมีผลในการลดการแตกของเม็ดเลือดแดงที่เป็นธัลลัสซีเมีย ลดการจับกินของ macrophage ทำให้ PMN สามารถเกิด oxidation burst ซึ่งเป็นกลไกในการทำลายแบคทีเรียภายในเซลล์ และทำให้เกร็ดเลือดทำงานได้ดีขึ้น

เมื่อทดลองให้หนูถีบจักรที่เป็นเบต้า-ธัลลัสซีเมีย กินน้ำที่ผสมด้วย FPP หนูจะได้รับ FPP ในขนาดประมาณ 50 มก./ตัว/วัน นาน 3 เดือน และทดลองให้ผู้ป่วยที่เป็นเบต้า-ธัลลัสซีเมีย จำนวน 11 คน (เป็น β-thalassemia intermedia 8 คน และเป็น β-thalassemia major 3 คน) กิน FPP ขนาด 3 ก. วันละ 3 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่า FPP สามารถลดการเกิดอนุมูลอิสระ reactive oxygen species และ lipid peroxidation และเพิ่มระดับ glutathione ทั้งในเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และ PMN ทั้งในสัตว์ทดลองและคน

Phytother Res 2008;22:820-8