การศึกษาในหนูขาวเพศผู้ อายุ 7 วัน โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความเหนื่อยล้าโดยนำหนูใส่ในกรงที่มีน้ำที่ระดับความสูง 1.5 ซม. อุณหภูมิน้ำ 23 ± 1°C และใส่ steel rings หนักประมาณ 8% ของน้ำหนักตัวหนู ไว้ที่หางของหนู และให้ว่ายน้ำโดยนับเวลาจากที่หนูเริ่มต้นว่ายน้ำจนถึงจมน้ำประมาณ 10 วินาที หากหนูเริ่มจมน้ำให้ช่วยและนำมาใส่กรงพักฟื้น จากนั้นนำหนูที่เหนื่อยล้ามาฉีดสาร (-)-epigallocate-chin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารจากผงชาเขียวขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก. เข้าทางช่องท้องทำการศึกษานาน 5 วัน ในขณะที่หนูที่เหนื่อยล้ากลุ่มควบคุมให้ฉีดด้วยน้ำเกลือ พบว่าหนูที่ได้รับสาร EGCG ในขนาด 50 และ 100 มก./กก. จะสามารถว่ายน้ำได้ระยะเวลานานกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือ และเมื่อตรวจดูระดับสารก่ออนุมูลอิสระ (thiobarbituric acid-reactive substance: TBARs) ในเลือด พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งในกลุ่มที่ได้รับ EGCG และกลุ่มควบคุม ในขณะที่สาร TBARs ในตับหนูที่เกิดความเหนื่อยล้าสูงกว่าในกลุ่มปกติ และหากป้อนสาร EGCG 50 หรือ 100 มก./กก. ในหนูขาวนาน 5 วัน ของหนูที่มีอาการเหนื่อยล้า พบว่าสามารถลดระดับสารก่ออนุมูลอิสระ (TBARs) ในตับได้ เมื่อทียบกับหนูปกติ จากการศึกษาสรุปได้ว่าสาร EGCG ขนาด 50 หรือ 100 มก./กก. หากฉีดให้กับหนูที่มีอาการเหนื่อยล้าสามารถลดอาการเหนื่อยล้าได้ และหากให้กินสาร EGCG ขนาดเท่ากันสามารถลดสารต้านอนุมูลอิสระในตับได้ ซึ่งสาร EGCG เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่มีอยู่ในชาเขียว
Nutrition 2008;24:599-603