ฤทธิ์ป้องกันการทำลายดีเอ็นเอของกาแฟ

อาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 8 คน อายุระหว่าง 20 – 25 ปี ไม่สูบบุหรี่ และได้รับการควบคุมอาหาร 1 สัปดาห์ก่อนและระหว่างการทดลอง ดื่มกาแฟวันละ 600 มล. (กาแฟ 50 ก. ต่อน้ำ 1 ลิตร กรองด้วยโลหะ 200 มล. และกรองด้วยกระดาษ 400 มล.) นาน 5 วัน เจาะเลือดก่อนและวันสุดท้ายของการทดลอง เพื่อแยกเอาเซลล์เม็ดเลือดขาว lymphocytes มาศึกษาผลต่อดีเอ็นเอ พบว่า การดื่มกาแฟไม่มีผลทำลายดีเอ็นเอ และช่วยลดการทำลายดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการแตกของสายดีเอ็นเอ ซึ่งจะตรวจพบการเกิด oxidised purines และ pyrimidines ด้วยเอนไซม์ formamidopyrimidine glycosylase หรือ endonuclease และลดการทำลายดีเอ็นเอจากการที่เซลล์ได้รับ hydrogen peroxide หรือ tryptophan pyrolyzate ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระ

นอกจากนี้เมื่อศึกษาในหลอดทดลอง โดยให้เซลล์ lymphocyte ถูกทำลายด้วย hydrogen peroxide พร้อมทั้งได้รับกาแฟในความเข้มข้นต่างๆกัน พบว่ากาแฟสามารถลดการทำลายดีเอ็นเอได้ ถึงแม้ในความเข้มข้นที่ต่ำ (≤ 25 มคล./มล.) แสดงว่ากาแฟมีฤทธิ์ลดการทำลายดีเอ็นเอโดยการจับอนุมูลอิสระ และเนื่องจากสาร cafestol และ kahweol ในกาแฟ ออกฤทธิ์ต่ำมาก จึงคาดว่าน่าจะเป็นสารสำคัญอื่นๆในกาแฟที่เป็นสารออกฤทธิ์ และการออกฤทธิ์น่าจะเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ที่มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ โดยตรวจพบว่ากาแฟทำให้เอนไซม์ superoxide dismutase เพิ่มขึ้นถึง 38%

Food Chem Toxicol 2007;45:1428-36