เมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 90% จากเมล็ดน้อยหน่าที่เอาไขมันออกแล้ว ขนาด 200 มก./กก. หรือป้อน quercetin จากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 10 มก./กก. นาน 10 วันติดต่อกัน ให้หนูถีบจักรที่ฉีด L-thyroxine (T4) เข้าช่องท้องขนาด 0.5 มก./กก. นาน 12 วันติดต่อกัน เพื่อเหนี่ยวนำให้มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ พบว่า ทั้งสารสกัดและสาร quercetin ทำให้ระดับ triiodothyroxine (T3), thyroxine (T4), เอนไซม์ glucose-6-phosphatase (G-6-Pase) ในตับ, 5′-mono-deiodinase (5′ DI) และ lipid peroxide ในเลือดและตับลดลง และเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase และ catalase เมื่อเปรียบเทียบกับการออกฤทธิ์ของยาต้านธัยรอยด์ propyl thiouracil (PTU) พบว่าสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าให้ผลดีกว่า
Phytomedicine 2007;14:799-805