ในอินเดียมีการใช้ อบเชยลังกา หรือ อบเชยเทศ (Cinnamonum zeylanicn ) เป็นยาพื้นบ้านในการรักษาเบาหวานกันอย่างกว้างขวาง จึงมีนักวิจัยทำการทดลองเพื่อแยกสารออกฤทธิ์ แล้วตรวจสอบสารที่แยกได้โดยดูความสามารถในการลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และพบว่าสารที่มีฤทธิ์คือ cinnomaldehyde ซึ่งแยกได้จากน้ำมันจากส่วนเปลือกของอบเชยลังกา
การทดสอบโดยการป้อน cinnamaldehyde ในขนาด 5, 10 และ 20 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. แก่หนูขาวเพศผู้ ที่ถูกชักนำให้เกิดเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) ในขนาด 60 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. หลังการทดลองเป็นเวลา 45 วัน พบว่าความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสในเลือดหนูลดลง 63.29% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวขึ้นกับขนาดยาที่ให้ นอกจากนี้การป้อน cinnamaldehyde แก่หนูขาวในขนาด 20 มก./น้ำหนักตัว 1 กก ยังสามารถลดระดับของ glycosylated hemoglobin (HbA1c), cholesterol และ triglyceride ในเลือดได้ และเพิ่มระดับ insulin ในเลือด ระดับ glycogen ในตับ และระดับของ high-density lipoprotein-cholesterol (HDL-cholesterol) ในเลือดด้วย นอกจากนี้ cinnamaldehyde ยังช่วยรักษาการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST), alanine aminotransferase (ALT), lactate dehydrogenase (LDH), alkaline phosphatase (ALP) และ acid phosphatase (ACP) ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าปกติด้วย
ในการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันโดยการป้อนสารให้หนูขาว พบค่าความเป็นพิษ (LD50) ของ cinnamaldehyde คือ 1850 ฑ 37 มก./น้ำหนักตัว 1 กก
Phytomedicine 2007;14:15-22