สกัดสารจากเปลือกของต้นขันทองพยาบาทด้วยไดคลอโรมีเทน แล้วมาแยกสารให้บริสุทธิ์ พบสารไดเทอร์ปีน 7 ชนิด คือ ent -kaurene-3β,15β,18-diol, ent -3-oxo-16-kaurene-15β,18-diol, ent -16-kaurene-3β,15β-diol, abbeokutone, helioscopinolide A, helioscopinolide C และ helioscopinolide I นำสารแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์แก้แพ้ พบว่าสารทั้งหมดมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยเอนไซม์ β-Hexosaminidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการแพ้ของเซลล์ RBL-2H3 โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ของสารดังกล่าวระหว่าง 22.5 - 42.2 ไมโครโมล ดีกว่ายา ketotifen fumarate (IC50 = 47.5 ไมโครโมล) แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า quercetin (IC50 = 4.5 ไมโครโมล) แต่เมื่อนำสารทั้ง 7 ชนิดมาทดสอบการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ β-Hexosaminidase โดยใช้ความเข้มข้นของสารเท่ากับ 100 ไมโครโมล พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งน้อยมาก แสดงว่าสารทั้ง 7 ชนิดออกฤทธิ์แก้แพ้โดยยับยั้งการสลายตัวแกรนูลที่ปลดปล่อยเอนไซม์ β-Hexosaminidase แต่ไม่ได้ยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์โดยตรง
Phytochemistry 2006;67:2630-4