Myricetin เป็น flavanol ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ชา เบอรี่ ผลไม้ต่างๆ และชะมดต้น (Abelmoschus moschatus) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidative) ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง (cytoprotective) มีการศึกษารายงานว่า myricetin สามารถลดพลาสมากลูโคส ในหนูที่เป็นเบาหวานชนิด I (insulin-dependent) และเบาหวานชนิด II (non-insulin dependent) โดยทำให้มีการใช้กลูโคสเพิ่มขึ้นและเพิ่มระดับพลาสมา beta-endorphin like immunoreactivity (BER) นอกจากนี้ยังพบว่า myricetin สามารถทำให้ BER หลั่งจาก isolated adrenal medulla ในการศึกษานี้เพื่อหากลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลกลูโคสของ myricetin โดยทดลองในหนูขาวที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) ขนาด 60 มก./กก. หนูถีบจักรปกติและหนูถีบจักร opioid mu-reptor knockout ที่ทำให้เป็นเบาหวานด้วย STZ ขนาด 50 มก./กก. หนูขาวและหนูถีบจักรต้องมีระดับกลูโคสเท่ากับหรือมากกว่า 20 มิลลิโมล/ลิตร เมื่อฉีด myricetin ขนาด 0.3-1.3 มก./กก. เข้าหลอดเลือดดำหนูขาว พบว่า myricetin สามารถลดระดับน้ำตาลกลูโคสและเพิ่มระดับ BER โดยขึ้นกับขนาดของ myricetin และให้ผลสูงสุดที่ขนาด 1.0 มก./กก. myricetin ยังสามารถเพิ่มระดับ BER ในเนื้อเยื่อ adrenal medulla นอกร่างของหนูขาวซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เมื่อฉีด myricetin ขนาด 1 มก./กก. เข้าหลอดเลือดหนูขาวกลุ่มที่ตัด adrenal gland (adrenalectomized) และไม่ได้ตัด (sham-operated) พบว่า myricetin ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลลดลง และ BER ไม่เพิ่มขึ้น ใน adrenalectomized ซึ่งแตกต่างจาก sham-operated ที่ระดับน้ำตาลลดลงและ BER เพิ่มขึ้น ฤทธิ์ลดน้ำตาลของ myricetin ในหนูเบาหวานนี้ถูกยับยั้งได้ด้วย naloxone หรือ naloxonazine ขนาด 5,10 มคก./กก. แต่ระดับ BER ยังคงเพิ่มขึ้น ในทำนองเดียวกันพบว่า myricetin สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูถีบจักรปกติที่เป็นเบาหวาน แต่ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในหนูถีบจักรเบาหวานที่ไม่มี opioid mu-receptor ส่วนระดับ BER เพิ่มขึ้นในหนูถีบจักรทั้งสองกลุ่ม แสดงว่าฤทธิ์ลดน้ำตาลของ myricetin มีกลไกการออกฤทธิ์โดยกระตุ้น opioid mu-receptor ทั้งในหนูขาวและหนูถีบจักร
J Ethnopharmacol 104(2006): 199-206.