สารสกัดของผลหญ้าต้อมต๊อก ( Solanum nigrum ) ประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ แทนนิน, อัลคาลอยด์, ซาโปนินส์, คาร์โบไฮเดรต, น้ำมันหอมระเหย และแอนโทไซยานิน เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแอนโทโซยานินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ส่วนซาโปนินส์, แทนนิน และน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดของผลหญ้าต้อมต๊อก, SNE ในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ได้ทำการทดลองในหนู rat ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารโดย cold restraint stress (CRU), indomethacin (IND), pyloric ligation (PL), เอทานอล และกรดอะซิติก พบว่า SNE ขนาด 200, 400 มก./กก. สามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจาก CRU (38 และ 76.6%) IND (31.4, 73.8%), PL (32.8, 80.1%) โดยขึ้นกับขนาดยา ซึ่ง SNE ขนาดสูง 400 มก./กก. ให้ผลป้องกันได้ใกล้เคียงกับ omeprazole 78.8, 71.2 และ 83% ตามลำดับ SNE ขนาด 200, 400 มก./กก. สามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่ถูกกระตุ้นด้วยเอทานอล 45.5 และ 70.6% ตามลำดับ SNE ขนาด 400 มก./กก. ให้ผลป้องกันได้ใกล้เคียงกับ lansoprazole 71% SNE ขนาด 200, 400 มก./กก. ให้ทุกวันพบว่าสามารถป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่กระตุ้นด้วยกรดอะซิติกในวันที่ 3 เท่ากับ 27.3, 47.1% และในวันที่ 7 เท่ากับ 42.2, 70.1% เทียบกับ omeprazole ให้ผลป้องกันในวันที่ 3,7 ได้ 79 และ 75.7% ตามลำดับ และมีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันโดยให้ SNE ขนาด 1, 2 และ 4 กรัม/กก. ภายใน 14 วันไม่พบสัตว์ทดลองตาย แสดงว่า LD50 ของ SNE ควรมีค่ามากกว่า 4 กรัม/กก.
จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ของ SNE ในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารขึ้นกับขนาดของสารสกัด สารสกัดขนาดสูง 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับ omeprazole และ lansoprazole โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรด, pepsin และ gastrin และควรมีฤทธิ์ยับยั้ง H+K+ ATPase เช่นเดียวกับ proton pump inhibitors ได้แก่ omeprazole และ lansoprazole