การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของชาเขียวต่อความทนต่อกลูโคส์ (glucose tolerance) และความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) ในหนู การทดลองที่ 1 ใช้หนู Sprague-Dawley เพศผู้น้ำหนัก 200-250 กรัม ในกลุ่มควบคุมจะได้รับอาหารมาตรฐานและน้ำกลั่น Deionized ในขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับอาหารมาตรฐานและชาเขียวแทน (ผงชาเขียวที่ทำให้แห้งด้วยความเย็น 0.5 กรัม ละลายในน้ำกลั่น Deionized 100 มิลลิลิตร) หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับของ fasting blood glucose, insulin, triglycerides และ free fatty acids ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม insulin ที่ถูกกระตุ้นให้จับกับ glucose และ insulin ที่เข้าจับกับเซลล์ไขมัน (adipocytes) เพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลอง การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาผลของสารสกัดโพลีฟีนอล (polyphenol) ของชาต่อการออกฤทธิ์ของ insulin ใน adipocytes ของหนูในหลอดทดลอง พบว่าสาร polyphenols (0.075%) จากชาเขียวสามารถเพิ่มเก็บ glucose ของ adipocytes โดยการกระตุ้น insulin ดังนั้นจึงสรุปว่าชาเขียวสามารถเพิ่มความไวของ insulin ในหนู Sprague-Dawley และสาร Polyphenol เป็นสารที่ออกฤทธิ์
J Agric Food Chem 2004:52(3);643-8