ฤทธิ์ต้านการอักเสบของเกสรหญ้าฝรั่นในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

การศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของเกสรหญ้าฝรั่น(Crocus sativus L.)ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเพศชาย และมีอายุระหว่าง 60-70 ปี โดยสุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (C) กลุ่มที่ 2 จะได้รับเกสรหญ้าฝรั่นแห้งในรูปแบบยาเม็ด(saffron tablet*) ขนาด 200 มก.วันละ 1 เม็ด พร้อมน้ำ 200 มล. (S) กลุ่มที่ 3 ให้ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance training)สัปดาห์ละ 3 ครั้ง (R) และกลุ่มที่ 4 จะได้รับหญ้าฝรั่นร่วมกับออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน(RS) ทำการทดสอบนาน 12 สัปดาห์ ทำการเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์ค่าตัวบ่งชี้การอักเสบ (inflammatory markers)และลักษณะไขมัน (lipid profiles) ทั้งก่อนและหลังทำการทดสอบ และประเมินผลด้วยเทคนิคunivariate analysis of covariance (ANCOVA) พบว่า กลุ่มRS มีระดับ leptin, resistin, monocytechemoattractant protein-1 (MCP-1), และ interleukin 6 (IL-6) ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ps<0.05) และลดลงมากกว่าทุกกลุ่ม ในกลุ่ม RS, S, และ R มีระดับผลรวมคอเลสเตอรอลลดลง และมีระดับ HDL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ps<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่ม C แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม RS, S, และ R ในขณะที่การได้รับหญ้าฝรั่นหรือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ไม่มีผลต่อระดับ tumor necrosis factor α (TNF-α), homocysteine, และ highsensitivityC-reactive protein (hs-CRP) (ps>0.05) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การรับประทานเกสรหญ้าฝรั่นร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอาจช่วยลดการอักเสบและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของระบบหลอดเลือดและหัวใจในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงได้

*หมายเหตุ : saffron tabletขนาด 1 ก. ประกอบด้วยสาร crocin19.7มก. และสาร safranal 0.25 มก.

ExpGerontol. 2022;162:111756. doi: 10.1016/j.exger.2022.111756