ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสำคัญจากเกสรหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง

การศึกษาทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสองทาง และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร crocin ซึ่งเป็นสารสำคัญจากเกสรหญ้าฝรั่น (Crocus sativus L.) ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease; COPD) โดยสุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 57 คน กลุ่มที่ 1 จะได้รับสาร crocin ในรูปแบบยาเม็ด (Krocina™ tablets) ขนาด 15 มก. วันละ 2 ครั้ง และกลุ่มที่ 2 จะได้รับยาหลอก ทำการทดสอบนาน 12 สัปดาห์ จากนั้นจึงทำการเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับสารก่อการอักเสบ interleukin-6 (IL-6) และ tumor necrosis factor-α (TNF-α) ด้วยวิธี ELISA รวมทั้งประเมินสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยด้วย 6-min walking distance test (6MWD) และ pulmonary function tests (PFT) ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังทำการทดสอบ พบว่าสาร crocin ทำให้สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ IL-6 และช่วยให้ระดับของ TNF-α ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร crocin จากหญ้าฝรั่นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมทั้งช่วยให้สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้น

Br J Nutr. 2023;130:446–53. doi:10.1017/S0007114522003397.