ฤทธิ์ต้านเบาหวานของผักปลาบ

การศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดต้นผักปลาบ (Commelina diffusa Burm. f.) ในหลอดทดลองด้วยการทดสอบความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase พบว่าส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทต้นผักปราบมีฤทธิ์ดีที่สุด จึงคัดเลือกส่วนสกัดดังกล่าวมาทำการศึกษาวิเคราะห์สารสำคัญ พบสารสำคัญ 6 ชนิด ได้แก่ 4-hydroxybenzoic acid, methyl gallate, lyratol F, N-trans-feruloyltyramine, N-trans-p-coumaroyl-3′,4′-dihydroxyphenylethylamine, และ 1,2-dihydro-6,8-dimethoxy-7-hydroxy-1-(3,5-dimethoxy-4-hy-droxyphenyl)-N1,N2-bis-[2-(4-hydroxyphenyl)ethyl]-2,3-naphthalene dicarboxamide (6) และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase ของสารสำคัญทั้ง 6 ชนิด พบว่าสาร (6) มีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเอนไซม์ทั้งสองชนิด ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 61.37±0.83 และ 38.23±1.04 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ และมีฤทธิ์ที่สูงกว่าสารมาตรฐานเปรียบเทียบกับ acarbose ซึ่งพบค่า IC50 ต่อเอนไซม์ทั้งสองชนิดเท่ากับ 210.43±2.78 และ 129.19±3.13 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต้านเบาหวานของผักปราบและสารสำคัญที่พบในผักปราบ ซึ่งอาจนำไปพัฒนาเป็นยาเพื่อรักษาเบาหวานได้ในอนาคต

Rev bBas Farmacogn. 2023ว33:657–66.