ฤทธิ์ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลจากใบลูกน้ำนม

การศึกษาฤทธิ์ของส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลจากใบลูกน้ำนมหรือใบแอปเปิ้ลสตาร์ (star apple leaf polyphenol enriched-fraction:SAP) ต่อความสามารถและกลไกในการรักษาโรคอ้วนลงพุง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลจากใบลูกน้ำนม พบสาร myricitrin เป็นสารสำคัญ การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลอดทดลองพบว่า SAP มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ด้วยค่า IC50 24.427± 0.626 มคก./มล. และสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระในการทดสอบด้วยวิธี Hydroxyl radical (⋅OH) scavenging และ ABTS scavenging ด้วยค่า IC50 3.680± 0.054 และ 9.155±0.234 มคก./มล. ตามลำดับ การทดสอบผลของ SAP ต่อการสะสมไขมันในเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง (HepG2 cells) พบว่า SAP ที่ความเข้มข้น 200 มคก./มล. ลดการเกาะกลุ่มของไขมันในเซลล์ตับได้ใกล้เคียงกับการใช้ยา simvastatin และการทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานในหนูเม้าส์ Kunming ที่เหนี่ยวนำให้เกิดเบาหวานด้วยอาหารไขมันสูงและ streptozotocin พบว่าการป้อน SAP ขนาด 200 มก./กก. ให้แก่หนูเม้าส์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลิน และค่าความทนต่อน้ำตาลกลูโคส รวมถึงลดภาวะดื้อต่ออินซูลินและความเครียดออกซิเดชันในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ SAP ยังให้ผลลดการสะสมไขมันและเพิ่มการสะสมไกลคเจนในเซลล์ตับ การวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียด้วยการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทป์ 16S-rRNA sequences พบความสัมพันธ์ของ SAP ต่อการเพิ่มปริมาณเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ได้แก่ Akkermansia, Unspecified S24_7, Alistipes และ Unspecified_Ruminococcaceae ซึ่งนับเป็นกลไกหนึ่งของ SAP ในการรักษาโรคอ้วนลงพุง ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลจากใบลูกน้ำนมสามารถปรับปรุงการเมทาบอลิสมไขมันในตับ โดยอาศัยกลไกการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษาเบาหวานและอ้วนลงพุงได้ในอนาคต

Phytomedicine. 2023;115:154820.