ฤทธิ์ปกป้องความเป็นพิษต่อตับจากยาพาราเซตามอลของผลพุทราจีน

การศึกษาฤทธิ์ปกป้องความเป็นพิษต่อตับจากยาพาราเซตามอลของผลพุทราจีน (Ziziphus jujube Mill.) ทำการทดสอบในหนูแรทเพศผู้ โดยแบ่งหนูแรทออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมลบ ป้อนด้วยcarboxymethylcellulose sodium 1% กลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุมบวก ป้อนด้วยยาพาราเซตามอล (acetaminophen) กลุ่มที่ 3-5 ได้รับสารสกัด 70% เอทานอลจากผลแห้งพุทราจีนแดง ขนาด 70, 140 และ 280 มก./กก.นน.ตัว ร่วมกับยาพาราเซตามอล โดยทำการป้อนสารสกัดพุทราจีนให้แก่หนูแรทติดต่อกัน 10 วัน และป้อนยาพาราเซตามอล ขนาด 3 ก./กก.นน.ตัว ในวันที่ 9 ของการทดสอบ ประเมินผลจากการตรวจวัดค่าทางชีวเคมีในเลือดและระดับเอนไซม์ aminotransferase ในวันที่ 11 ของการศึกษา ผลการทดสอบทางสถิติโดยใช้ Kruskal–Wallis Test ผลพบว่าระดับเอนไซม์ alanine aminotransferase (ALT) และ aspartate aminotransferase (AST) ในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การทดสอบทางสถิติด้วยวิธี Mann-Whitney post hoc test แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับเอนไซม์ ALT และ AST ระหว่างกลุ่มที่ 2 และกลุ่มทดสอบ 3-5 และการศึกษาความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson correlation พบความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างขนาดของสารสกัดพุทราจีนที่กับระดับ ALT และ AST ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเอทานอลจากผลพุทราจีนมีฤทธิ์ปกป้องความเป็นพิษต่อตับจากยาพาราเซตามอล โดยประสิทธิภาพของการปกป้องตับเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ

Cureus. 2023;15(1):e33272.