การศึกษาสารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเมทานอลจากส่วนดอกของกุยช่ายประดับ (Tulbaghia violacea) พบว่า สารสกัด 1 ก. มีผลรวมปริมาณสารฟีนอลิก (total phenolics content; TPC) เทียบเท่าสารมาตรฐาน gallic acid 25.6 มก. และมีผลรวมปริมาณสารฟลาโวนอยด์ (total flavonoids content; TFC) เทียบเท่าสารมาตรฐาน catechin 3.3 มก. ซึ่งประกอบด้วยสารสำคัญ 11 ชนิด ได้แก่ chrysanthemin ,ferulic acid, rutin, kaempferol-3-glucoside, quercetin, o-vanillin, quercetin-3-glucopyranoside, m-coumaric acid, epicatechin, pelargonidine-3-glucoside, และ pelargonidine-3-rutinoside การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี total antioxidant capacity (TAC), ferric reduced antioxidant process (FRAP) assay, และ 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) free radical method พบว่า สารสกัด 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสะเทียบเท่ากับสารมาตรฐาน trolox 405.2, 176.2, และ 156.8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งรังไข่ (ovarian tumoral cell) พบว่า สารสกัดมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 881.6 มคก./มล. โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับการกระตุ้น non-dependent caspase cell death และการกระตุ้น reactive oxygen species การทดสอบฤทธิ์ต้านการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ด้วยวิธี Caenorhabditis elegans assays พบว่าสารสกัดสามารถยับยั้งการสร้าง 1-42β amyloid peptide และป้องกันการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ดอกของกุยช่ายประดับซึ่งเป็นพืชอาหารมีสารสำคัญในกลุ่มฟีนอลิกและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็งรังไข่ และต้านการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
Food Chem. 2022;381:132096. doi:10.1016/j.foodchem.2022.132096.