ฤทธิ์ต้านการอักเสบและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังหลอดลมของสารสกัดจากใบพรวดในหนูเม้าส์

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังหลอดลมในหนูเม้าส์ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหอบหืดจากภูมิแพ้ด้วยการให้โปรตีนจากไข่ขาวร่วมกับการให้ผงถ่านหิน กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหอบหืดและให้ยา salbutamol และกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหอบหืดและให้สารสกัดเอทานอลจากใบพรวด (Rhodomyrtus tomentosa) ขนาด 200 มคก. ใน 0.9%NaCl ประเมินผลตัวชี้วัดการอักเสบและยับยั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังหลอดลม ด้วยการวัดจำนวนเซลล์ eosinophil, neutrophils และ lymphocytes ความหนาของเยื่อบุ กล้ามเนื้อเรียบ การเรียงตัวที่ผิดปกติใต้เซลล์เยื่อบุผิวหลอดลม และเซลล์กอบเลท (goblet cell) ผลการทดสอบพบว่าจำนวนเซลล์ eosinophil, neutrophils และ lymphocytes ในกลุ่มที่ให้ยา salbutamol และสารสกัดใบพรวดต่ำกว่ากลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหอบหืดเพียงอย่างเดียว สารสกัดใบพรวดยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผนังหลอดลมโดยการลดความหนาของเยื่อบุ เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ การเรียงตัวที่ผิดปกติใต้เซลล์เยื่อบุผิวหลอดลม และจำนวนของเซลล์กอบเลทในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคหอบหืดจากภูมิแพ้ด้วยการให้โปรตีนจากไข่ขาวร่วมกับการให้ผงถ่านหิน

Rep Biochem Mol Biol. 2022;10(4):686-96. doi: 10.52547/rbmb.10.4.686.