ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพและต้านการเกิดไบโอฟิล์มของสารสกัดจากสะเดาอินเดียและแพงพวยฝรั่ง

การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบสะเดาอินเดียและสารสกัด 70%เอทานอลจากดอกแพงพวยฝรั่ง ความเข้มข้น 10%, 20%, 40% โดยทดสอบในเชื้อ Candidaalbicans ที่ดื้อต่อยา fluconazoleจำนวน 4 สายพันธุ์ (CA 1-CA 4) และเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยา methicillin (methicillinresistant Staphylococcus aureus;MRSA) พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ C. albicans และ MRSA ได้ ซึ่งฤทธิ์จะแปรผันตามความเข้มข้น โดยสารสกัดจากใบสะเดาอินเดียมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดจากดอกแพงพวยฝรั่ง ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (minimuminhibitory concentration: MIC)ของสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ต่อเชื้อ CA 1-CA 4อยู่ในช่วง 0.1-4 มก./มล. และค่า MIC ของสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ต่อเชื้อ MRSA เท่ากับ 1 และ 1 มก./มล. ตามลำดับ ขณะที่ค่า MIC ของยา fluconazole และ voriconazoleซึ่งเป็นตัวควบคุมบวกของการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา อยู่ในช่วง >64 มคก./มล. และ 4-16 มคก./มล. ตามลำดับ และค่าMIC ของยาtetracycline, ampicillinและ streptomycinซึ่งเป็นตัวควบคุมบวกของการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เท่ากับ 32, 16 และ 8 มคก./มล. ตามลำดับจากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดทั้ง 2 ชนิด เมื่อให้ร่วมกับยาต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียโดยประเมินผลจากค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพร่วม (fractional inhibitory concentration index; FIC) พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิดและยา fluconazole และ voriconazoleออกฤทธิ์ร่วมกันทั้งแบบเสริมฤทธิ์(synergy), เพิ่มฤทธิ์ (additive) ต้านฤทธิ์(antagonism) และไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา (indifference) ต่อเชื้อ CA 1-CA 4สารสกัดจากใบสะเดาอินเดียมีผลเสริมฤทธิ์ของยาtetracycline และ ampicillin แต่ไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาstreptomycin ขณะที่สารสกัดจากดอกแพงพวยฝรั่งมีผลเสริมฤทธิ์ของยา tetracycline แต่ต้านฤทธิ์ของยาampicillin และไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา streptomycin นอกจากนี้สารสกัดทั้ง 2 ชนิด ยังมีผลยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อ C. albicans และ MRSA ที่ทดสอบได้

Evid Based Complement Altern Med. 2022, article ID 9373524. doi:10.1155/2022/9373524.