การศึกษาทางคลินิกแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง มีกลุ่มคู่ขนาน มีการสุ่ม ปกปิดสองทาง และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม (An acute-on-chronic, parallel groups, randomised, double-blind, placebo-controlled design) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 60 คน อายุระหว่าง 18-30 ปี เพื่อทดสอบผลต่อสมองและความจำของสารสกัด polyphenol จากเมล็ดองุ่น (grape seed polyphenol extract; GSPE) โดยสุ่มให้อาสาสมัครรับประทาน GSPE ขนาด 400 มก. หรือยาหลอก ทำการประมินการทำงานของสมอง (cognitive functions) แบบเฉียบพลัน (acutely) ที่เวลา 0 (baseline) และหลังจากอาสาสมัครรับประทานสารทดสอบนาน 2, 4, และ 6 ชม. และทำการประเมินการทำงานของสมองแบบเรื้อรัง (chronically) หลังจากอาสาสมัครรับประทานสารทดสอบนาน 6 และ 12 สัปดาห์ โดยทำการประเมินด้วย computerised battery of multiple cognitive tests ซึ่งประกอบด้วย Auditory Verbal Learning Test (AVLT), Serial Subtraction 3s and 7s, Modified Attention Network Test (ANT), Simple and Complex Finger Tapping และ Switching Task รวมทั้งประเมินสภาวะทางอารมณ์ด้วย Positive and Negative Affect Schedule จากผลการทดลองพบว่า GSPE ในขนาดที่ทำการทดสอบ ไม่มีผลช่วยให้การทำงานของสมองหรือความจำของอาสาสมัครดีขึ้น ทั้งในการทดสอบแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง จึงสรุปว่า สำหรับอาสาสมัครสุขภาพดีที่มีอายุน้อย การรับประทานสารสกัด polyphenol จากเมล็ดองุ่นขนาด 400 มก. ไม่มีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองหรือความจำดีขึ้น
Nutr Neurosci. 2022;25(1):54-63.