ฤทธิ์ปกป้องเยื่อบุลำไส้เล็กของหญ้าหนวดแมว

การศึกษาฤทธิ์ของหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon stamineus Benth.) ต่อการปกป้องความเสียหายของลำไส้เล็กจากภาวะ oxidative stress ทำการทดสอบในเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้เล็กของสุกร (porcine small intestinal epithelial cell line: IPEC-J2) ด้วยการบ่มสารสกัด 50% เอทานอลหญ้าหนวดแมว ความเข้มข้น 50 มคก./มล. เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ oxidative stress ด้วย hydrogen peroxide (H2O2) หรือ phosphate-buffered saline (PBS) ขนาด 1 ไมโครโมลาร์ จากนั้นประเมินการทำงานของเยื่อบุลำไส้ด้วยการวัดค่าต้านทานกระแสไฟฟ้าของเยื่อบุลำไส้ (transepithelial electrical resistance: TEER) ผลพบว่าสารสกัดหญ้าหนวดแมวช่วยเพิ่มค่า TEER ขึ้น 12.4% และแสดงฤทธิ์ต้านนุมูลอิสระด้วยการลดระดับ malodialdehyde (MDA) จาก 6.1 เหลือ 4.7 ไมโครโมลาร์/มก.โปรตีน และการทดสอบในหนูเม้าส์ด้วยการอาหารไขมันสูงร่วมกับการป้อนสารสกัดหญ้าหนวดแมว 100 มก./กก. เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ป้อนด้วยอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว ผลพบว่าระดับของ diamine oxidase, endotoxin และ MDA ซึ่งบ่งถึงความเสียหายของเยื่อบุลำไส้เล็กมีค่าลดลงในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดหญ้าหนวดแมว (ลดลง 34.2%, 13.4% และ 48.35% ตามลำดับ) นอกจากนี้สารสกัดหญ้าหนวดแมวมีผลเพิ่มการแสดงออกของยีนที่ควบคุมโปรตีน zona occludens-1 และ occluding ซึ่งทำหน้าเกี่ยวป้องกันการรั่วไหลของเซลล์ทั้งในระดับหลอดทดลอง (เพิ่มขึ้น 42.8% และ 127.0% ตามลำดับ) และสัตว์ทดลอง (เพิ่มขึ้น 125.0% และ 120.3% ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัด 50% เอทานอลจากหญ้าหนวดแมวมีฤทธิ์ปกป้องการทำงานของลำไส้เล็ก โดยอาศัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและอาจนำใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้เล็กได้

Nat Prod Commun. 2021;16(1);1-9.