ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับและเพิ่มกรดไขมันชนิดสายสั้นของผงกล้วยป่าดิบ

การศึกษาฤทธิ์ของผงกล้วยป่าดิบ (Musa acuminata L.) ซึ่งอุดมไปด้วยแป้งที่ทนจากการย่อยด้วยเอนไซม์ (resisntant starch) ต่อการสะสมไขมันในตับและการสร้างกรดไขมันชนิดสายสั้น (short-chain fatty acids production: SCFAs) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนจากการป้อนด้วยอาหารไขมันสูง ทำการศึกษาด้วยการป้อนผงกล้วยดิบความเข้มข้น 15% ร่วมกับการป้อนอาหารปกติ (standard banana green group: SB) หรือป้อนผงกล้วยดิบร่วมกับอาหารไขมันสูง (high-fat green banana group: HFB) หรือป้อนด้วยอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าหนูเม้าส์กลุ่ม HFB มีดัชนีมวลกายลดลง 6% เมื่อเทียบกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว การสะสมไขมันในตับ (liver steatosis) และระดับของ triacylglycerol ของหนูกลุ่ม HFB มีค่าลดลง 28 และ 93% ตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์ Western Blotting analysis พบว่าระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไขมัน ได้แก่ AMPKp /AMPK, 3-hydroxy-3-methylglutarylcoenzyme A reductase (HMGCoA-r) และ fatty acid synthase (FAS) มีค่าลดลง และระดับของโปรตีน ABCG8 และ ABCG5 ที่ทำหน้าที่ขนส่งไขมันออกจากเซลล์มีค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าระดับของกรดไขมันสายสั้นในอุจจาระ ได้แก่ acetic acid, propionic acid และ butric acid ของกลุ่มที่ได้รับผงกล้วยดิบสูงกว่ากลุ่มทีได้รับอาหารไขมันสูงอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ที่พบในผลกล้วยป่าดิบมีผลต่อการทำงานของระบบเมตาบอลิสมของร่างกาย โดยเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเมตาบอลิสมไขมันในตับ

Int J Biol Macromol. 2020;145:1066-72.