ฤทธิ์ต้านอักเสบของอนุพันธุ์ kavalactone ในข่าเหลือง

การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบ รังไข่ (placenta) เปลือกผล (pericarp) และเมล็ดของข่าเหลือง (Alpinia zerumbet (Pers.) B.L.Burtt & R.M.Sm.) ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบสารสำคัญเป็นอนุพันธุของสาร kavalactone 6 ชนิด ได้แก่ 7,8-dihydro-5,6-dehydrokawain, 5,6-dehydrokawain, 6,6′-((1α,2α,3β,4β)-2,4-diphenylcyclobutane-1,3-diyl) bis (4-methoxy-2H-pyran-2-one), rel-6,6′-((1R,2S,3R,4S)-3,4-diphenylcyclobutane-1,2-diyl) bis (4-methoxy-2H-pyran-2-one), aniba dimer A และ aniba dimer C โดยพบมากที่สุดในส่วนของสารสกัดเมทานอลจากส่วนเปลือกผล เมื่อนำสารเหล่านี้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์เพาะเลี้ยงจากตับของหนูแรท พบว่าสารทั้ง 6 ชนิดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และสาร aniba dimer C มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยพบค่า IC50 ในยับยั้งการสร้าง nitric oxide และ interleukin-1β เท่ากับ 63.9±15.6 มคก./มล. และ 25.3±16.1 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเมาทานอลจากข่าเหลืองที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีอนุพันธุของ kavalactone เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์

Fitoterapia. 2020;140:10444.