การศึกษาศักยภาพของสารสกัดใบรางจืดในการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอาง โดยทดสอบฤทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความเสื่อมหรือความแก่ของผิว ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinases (MMPs) และ hyaluronidase ของสารสกัดน้ำ และ 80% เอทานอลจากใบรางจืด พบว่าสารสกัดทั้ง 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ เมื่อทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging และ lipid peroxidation inhibition assay โดยสารสกัด 80% เอทานอล มีฤทธิ์สูงกว่าสารสกัดน้ำ เมื่อทดสอบด้วยวิธี lipid peroxidation inhibition แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH สารสกัดทั้ง 2 ความเข้มข้น 0.25, 0.5 และ 1 มก./ตร.ซม. สามารถยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase ได้ดีเทียบเท่ากัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง (% inhibition) เท่ากับ 61%±21% และ 63.0%±0.8% ตามลำดับ ขณะที่ผลในการยับยั้งเอนไซม์ MMP พบว่าสารสกัด 80% เอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ได้ดีกว่าสารสกัดน้ำและมีฤทธิ์ใกล้เคียงกับกรดแกลลิก (ค่า IC50 เท่ากับ 12.0±0.3 และ 8.9±0.4 มก./ตร.ซม. ตาม ลำดับ นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-9 จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัด พบว่าสารสกัด 80% เอทานอล ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก ได้แก่ กรดโรสมารินิก (rosmarinic acid) และ ฟลาโวนอยด์ ขณะที่ในสารสกัดน้ำประกอบด้วยสารสำคัญหลัก คือ สารประกอบฟีนอลิก
Molecules. 2020;25,1923; doi:10.3390/molecules25081923