การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าขิง เปรียบเทียบกับยาแก้แพ้ loratadine ในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) โดยทดสอบในผู้ป่วย จำนวน 80 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับสารสกัดขิง ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (1 แคปซูล ประกอบ ด้วยสารสกัดขิง 125 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยา loratadine ขนาด 10 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประเมิน ผลจากคะแนนอาการทางจมูกโดยรวม (total nasal symptom scores), การตรวจวัดโครงสร้างภายในของจมูกด้วยเครื่อง acoustic rhinometry และแบบประเมินคุณภาพชีวิต rhinocon-junctivitis quality of life questionnaire (RQLQ) พบว่าสารสกัดขิงและยา loratadine สามารถลดอาการทางจมูกโดยรวมได้ไม่แตก ต่างกัน สำหรับการตรวจด้วยเครื่อง acoustic rhinometry พบว่าสารสกัดขิงมีผลเพิ่มปริมาตรของโพรงจมูก (volume of the nasal cavity) และลดระยะห่างจากรูจมูก (distances from the nostril) ทำให้อาการคัดแน่นจมูกของผู้ป่วยดีขึ้น ขณะที่ยา loratadine ไม่มีผล ผู้ป่วยในทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สารสกัดขิงและยา loratadine มีความปลอดภัยในการใช้ ไม่มีผลต่อตับและไต รวมทั้งค่าความดันโลหิตของผู้ป่วย สรุปได้ว่า สารสกัดขิง มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยา loratadine ในการลดอาการทางจมูก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้ โดยสารสกัดขิงจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน อ่อนเพลีย เวียนศีรษะและท้องผูกน้อยกว่ายา loratadine ดังนั้นสารสกัดขิงจึงสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้นอกเหนือจากยาแผนปัจจุบันได้
BMC Complement Med Ther. 2020;20:119.