การศึกษาฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) ของว่านหางจระเข้ (Aloe vera L.) ในหนูเม้าส์ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากการเหนี่ยวนำด้วย ovalbumin การทดสอบแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีพอลิแซคคาร์ไรด์น้ำหนักโมเลกุลต่ำ (PAG) ขนาด 100 มก./กก. ทุก ๆ 2 วัน จำนวน 4 ครั้ง กลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนด้วย PAG ขนาด 50 และ 10 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน ผลการศึกษาพบว่า PAG สามารถยับยั้งการสร้าง IgE ในเซรั่มและลดการเกิดความหนาของผิวหนังชั้น epidermis (epidermal thickness) ลดจำนวนของ Ki-67 ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการแบ่งตัวของเซลล์ปรับปรุงการแสดงออกยีนไทต์ จังก์ชัน (tight junction genes) ได้แก่ zoluna occludens protein-1 (ZO-1), Claudin-1 และ Claudin-8 ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของสาร น้ำ หรือตัวถูกละลายผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ ซึ่งลดลงจากภาวะผิวหนังที่เกิดการอักเสบกลับคืนสู่ค่าปกติ รวมถึงให้ผลลดระดับไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของผิวหนัง ได้แก่ interleukin-4 (IL-4) และ IL-17A ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ที่มีพอลิแซคคาร์ไรด์น้ำหนักโมเลกุลต่ำสามารถบรรเทาอาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยปรับปรุงการแสดงออกของยีนไทต์ จังก์ชันและยับยั้งการอักเสบของผิวหนัง
Scand J Immunol. 202;91:e12856.