ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน

การศึกษาแบบ double-blind randomized placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause women) จำนวน 58 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานผงแห้งจากผลมะกอกเปอร์เซีย (Elaeagnus angustifolia L.) ขนาด 15 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ ได้แก่ estradiol, progesterone, testosterone, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่พบความแตกต่างของระดับฮอร์โมนทั้งก่อนและหลังการรับประทานในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม แต่พบว่าอาการปวดข้อในกลุ่มที่ได้รับผลมะกอกเปอร์เซียร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่ม พบว่าระดับฮอร์โมน FSH และอัตราส่วนของ FSH ต่อ testosterone มีค่าเพิ่มขึ้น และระดับฮอร์โมน progesterone มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการรับประทานผลมะกอกเปอร์เซียร์ อย่างไรก็ตามว่าการศึกษานี้จะไม่พบผลที่แน่ชัดของมะกอกเปอร์เซียร์ต่อการปรับปรุงฮอร์โมนเพศตามการใช้แผนโบราณ จึงควรมีศึกษาเพิ่มเติมถึงการบริโภคในระยะยาวและในกลุ่มประชากรที่มากขึ้น

J Ethnopharmacol. 2020;246:112229