การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (visceral fat)

การศึกษาทางคลินิก (randomized double-blind placebo-controlled parallel-group study) ในอาสาสมัครจำนวน 70 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 และน้อยกว่า 30 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับผงจากหัวหอม (Allium cepa; onion) ที่ประกอบด้วยสารเควอซิติน (quercetin) 9 ก./วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ประเมินผลการทดสอบในช่วงสัปดาห์ที่ 0 และ 12 ผลการทดสอบพบว่าไขมันหน้าท้อง (visceral fat area) ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ได้รับสารเควอซิตินมีค่าคอเลสเตอรอลชนิด HDL และไขมันหน้าท้องต่ำกว่า นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารเควอซิตินมีค่าการทำงานของตับ alanine aminotransferase ต่ำกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการทดสอบครั้งนี้สรุปได้ว่าสารเควอซิตินที่พบได้มากในหัวหอมอาจจะมีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดภาวะอ้วนและปรับปรุงการทำงานของตับได้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Nutrients.2019;12(1):91. doi: 10.3390/nu12010091.