ศึกษากลไกการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acid ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic acid ที่พบได้มากในมะเขือเทศ เห็ด องุ่น และกาแฟ ในเซลล์ตับของมนุษย์ชนิด HepG2 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไขมัน palmitic acid (PA) ขนาด 1 มิลลิโมลาร์ โดยให้สาร p-coumaric acid ขนาด 5, 10, และ 20 ไมโครโมลาร์ (ขนาดของสาร p-coumaric acid ที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์คือ <40 ไมโครโมลาร์) พบว่า PA มีผลทำให้การสะสมไขมันในเซลล์ตับเพิ่มขึ้น ปริมาณของ reduced glutathione (GSH) และการทำงานของ catalase (CAT) ลดลง เพิ่มการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างไขมัน (lipogenesis) ได้แก่ sterol regulatory element-binding protein-1 (SREBP-1), stearoyl-CoA desaturase-1 (SCD1) และ fatty acid synthase (FAS) และทำให้การเกิด fatty acid β-oxidation ลดลง โดยลดการแสดงออกของ peroxisome proliferator-activated receptor alpha subunit (PPARα) และ peroxisome proliferator-activated receptor-gamma coactivator1α (PGC1α) ซึ่งสาร p-coumaric สามารถยับยั้งความผิดปกติที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ นอกจากนี้สาร p-coumaric ยังมีผลลดการแสดงออกของ cyclooxygenase-2 (COX-2) และ prostaglandin E2 (PGE2) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก PA ด้วย จากผลการทดลองข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สาร p-coumaric acid มีกลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับ โดยการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งกระบวนการสร้างไขมัน กระตุ้นกระบวนการสลายไขมัน และยับยั้งการอักเสบภายในตับ
J Agric Food Chem. 2020;68:3742-9.