การสกัดด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและเอนไซม์ไฮยารูโรนิเดสของใบหม่อน

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการสกัดใบหม่อนด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ (pulsed electric field:PEF) ที่ใช้ 95% เอทานอลเป็นตัวทำละลาย กับสารสกัดด้วยวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม (conventional maceration method) ต่อองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบหม่อน พบว่าการสกัดจากวิธี PEF มีปริมาณสารฟีนอลิค ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและเอนไซม์ไฮยารูโรนิเดสสูงกว่าสารสกัดแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสิถิติ (p < 0.5) และเมื่อทำการการเปรียบเทียบตัวอย่างสารสกัดด้วยการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ของใบหม่อนจาก 3 แหล่ง ได้แก่ เชียงใหม่ สกลนคร และบุรีรัมย์ พบว่าสารสกัดใบหม่อนจากบุรีรัมย์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดในการทดสอบด้วย 2,2’-azinobis -3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonate (ABTS) โดยให้ฤทธิ์เทียบเท่ากับการใช้กรดแอสคอบิค (L-ascorbic acid) และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยค่า IC50 28.0±5.1 มคก./มล. ใกล้เคียงกับการใช้กรดโคจิค (kojic acid) และสารสกัดใบหม่อนจากแหล่งสกลนครแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไฮยารูโรนิเดสดีที่สุด ด้วยเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 83.6±9.1% ซึ่งใกล้เคียงกับกรดโอลีนโนลิก (oleanolic acid) ซึ่งมีค่าการยับยั้งเท่ากับ 81.3±2.9% การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดสารจากใบหม่อนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผิวกระจ่างใสและชะลอความแก่ของวัย

Molecules. 2020;25:2212-37.