การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีการไขว้กลุ่ม และปกปิดสองทาง (Randomized, crossover, double-blind clinical trial) เพื่อศึกษาผลของการบริโภคน้ำเชื่อมรากบัวหิมะ (Smallanthus sonchifolius; Yacon syrup) ต่อระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดหลังมื้ออาหาร ในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 40 คน อายุ 19-40 ปี มีน้ำหนักตัวปกติ (BMI 18.5024.99 kg/m2) จำนวน 20 คน และมีภาวะอ้วนระดับ 1 (BMI 30.034.99 kg/m2) จำนวน 20 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับยาหลอก 40 ก. และกลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับน้ำเชื่อมบัวหิมะ 40 ก. (มี fructooligosaccharides 14 ก.) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับสารทดสอบหลังจากอดอาหารมาเป็นเวลานาน 12 ชม. และทำการวิเคราะห์ผลเลือดที่เวลา 15, 30, 45, 60, 90, และ 120 นาที ก่อนการไขว้กลุ่มอาสาสมัครจะมีระยะเวลาในการล้างยา (wash-out period) 1 สัปดาห์ จากผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำเชื่อมรากบัวหิมะมีความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส (ที่เวลา 30 นาที) และอินซูลิน (ที่เวลา 15, 30, และ 45 นาที) ต่ำลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ไม่มีผลต่อความเข้มข้นของไตรกลีเซอไรด์ แสดงให้เห็นว่า น้ำเชื่อมรากบัวหิมะสามารถลดระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดหลังมื้ออาหารได้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญน้ำตาลได้
Food Res Int. 2019;126:108682.