ศึกษาฤทธิ์ลดความดันโลหิตของชาเขียวในอาสาสมัครเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 20 คน (อายุเฉลี่ย 41.1 ± 8.4 ปี) โดยแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลสารสกัดชาเขียวขนาด 500 มก. (มีปริมาณสารโพลีฟีนอล 260 มก.) วันละ 3 แคปซูล นานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (placebo) จากนั้นเว้นช่วงระหว่างการทดลอง 2 สัปดาห์ (wash out period) แล้วสลับกลุ่มการทดลอง และให้รับยาในขนาดและระยะเวลาเช่นเดียวกับการทดลองช่วงแรก ก่อนเริ่มและสิ้นสุดการทดลองวัดค่าความดันโลหิต ประเมินการทำงานของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด (endothelial function) และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีต่างๆ ได้แก่ lipid profil กลูโคสและอินซูลิน สารบ่งชี้ของการอักเสบ ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มสารสกัดชาเขียวมีค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ที่ 24 ชั่วโมง ช่วงเวลากลางวัน (06.00-18.00 hours) และช่วงเวลากลางคืน (18.00-06.00 hours) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ส่วนความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure) มีค่าลดลงเช่นกัน แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก และพบว่าสารสกัดชาเขียวไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่าทางชีวเคมีอื่นๆและไม่มีผลต่อทำงานของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดชาเขียวทุกวันเป็นระยะเวลาสั้นๆ (4 สัปดาห์) อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ในหญิงอ้วนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง
J Am Coll Nutr. 2017; 36(2): 108-115.