ฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากยาด็อกโซรูบิซินของสารสกัดผักบุ้ง

การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากยาด็อกโซรูบิซิน (doxorubicin; DOX) ของสารสกัดด้วยน้ำ (ที่มีคลอโรฟอร์มเป็นส่วนประกอบ 1%) ของใบผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forssk.) ซึ่งสามารถรับประทานได้ (aqueous leaf extract of I. aquatic; AEIA) โดยทำการทดสอบในเซลล์ตับที่แยกได้จากหนูแรท พบว่า AEIA ที่ขนาด 400 มคก./มล. สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ตับที่ได้รับ DOX ขนาด 1 ไมโครโมลาร์ได้ดี และสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ reactive oxygen species (ROS) ความไม่สมดุลของการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน (redox imbalance) การออกซิเดชันของไขมัน (lipidperoxidation) การลดลงของเอนไซม์และสารต้านออกซิเดชันในร่างกายได้แก่ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferase, glutathione reductase และ reduced glutathione การกระตุ้น mitogen activated protein kinases (MAPK) และการตายของเซลล์แบบ apoptosis โดยยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนของ pro-apoptotic/anti-apoptotic factor (Bad/Bcl 2 ratio), cleaved caspase 9, และ cleaved caspase 3 ภายในเซลล์ตับที่ถูกเนี่ยวนำด้วย DOX ได้ การทดสอบในหนูแรทโดยป้อนหนูด้วย AEIA ขนาด 100 มก./กก./วัน ติดต่อกัน 14 วัน ร่วมกับการฉีด DOX ขนาด 3 มก./กก. เข้าทางช่องท้องแบบวันเว้นวัน (รวม 7 วัน) ก็พบว่า AEIA สามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชันที่ผิดปกติ (oxidative impairment) การแตกหักของดีเอ็นเอ (DNA fragmentation) และการสร้างเอทีพี (ATP formation) นอกจากนี้ยังเพิ่มการสร้าง co-enzymes Qs ของไมโตคอนเดรีย (mitochondrial co-enzymes Qs) ในเนื้อเยื่อตับของหนูด้วย แสดงให้เห็นว่าผักบุ้งสามารถยับยั้งความเป็นพิษต่อตับของยาด็อกโซรูบิซินได้ ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า AEIA ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ สารประกอบฟีโนลิก และวิตามินซี

Food Chemical Toxicol 2017;105:322-36.