การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมและไขว้กลุ่ม (A randomized, controlled, crossover study) โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 52 คน ดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของเมล็ดกาแฟชนิดไม่คั่ว (green bean) และชนิดที่คั่วแล้ว (roasted bean) ในอัตราส่วน 35:65 วันละ 3 ถ้วย (มื้อเช้า-ระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน-ระหว่างมื้อกลางวันและมื้อเย็น) โดยใน 1 ถ้วยจะมีผงกาแฟอยู่ 2 ก. (ผงกาแฟ 1 ก. มีสาร hydroxycinnamic acids 85.1 ± 1.6 มก. และ caffeine 20.0 ± 1.8 มก.) เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ จากผลการทดลองพบว่าอาสาสมัครมีระดับน้ำตาลและภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง (ผลจาก Homeostasis Model Assessment indexes; HOMA-IR) และมีความไวของอินซูลินเพิ่มขึ้น (ผลจาก Quantitative Insulin Sensitivity Check Index; QUICKI) นอกจากนี้ยังทำให้ระดับ glucagon ลงลด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งคาดว่าน่าจะสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ glucagon-like peptide-1 (GLP-1) ในขณะที่การดื่มกาแฟไม่มีผลต่อระดับ C-peptide, glucose-dependent insulinotropic polypeptide (GIP), insulin, และเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (ผลจาก Homeostasis Model Assessment of pancreatic β-cell; HOMA-β) ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การดื่มการดื่มกาแฟผสมชนิดไม่คั่ว/ชนิดที่คั่วแล้วเป็นประจำ อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดและหัวใจได้
Food Res Int 2016;89:1023-8.