คุณค่าทางอาหารของปลีกล้วยต่อการยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

การศึกษาคุณค่าทางอาหารของปลีกล้วยและกลไกต่างๆ ในการยับยั้งเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าปลีกล้วย (Musa paradisiaca) อุดมไปด้วยใยอาหารชนิดละลายน้ำร้อยละ 12.45 และใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำร้อยละ 53.31 ตามลำดับ ซึ่งใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สามารถดูดซับกลูโคสและคอเลสเตอรอลไว้กับตัว สารสกัดเอธิลอะซิเตทและเมทานอลของปลีกล้วยประกอบด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอล สารสกัดเมทานอลยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากการทดสอบ ABTS Assay แสดงค่า IC50 เท่ากับ -57.2±1.15 มคก./มล. และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระในเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาว (L6 monoblasts) โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสาร นอกจากนี้ยังยับยั้งเอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ α-amylase และ α-glucosidase รบกวนการเกิด glycated end products ที่จะส่งผลให้เซลล์ตายหรือเสื่อมสมรรถภาพ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ -142.27±1.09 มคก./มล. และกระตุ้นการนำกลูโคสกลับเข้าเซลล์ (glucose uptake) รวมทั้งยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของ LDL ด้วยค่า IC50 เท่ากับ -169.50±1.77 มคก./มล. และยับยั้ง angiotensin converting enzyme (ACE) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าปลีกล้วยมีคุณค่าทางอาหารที่มีฤทธิ์ต่อกลไกต่างๆ ในการยับยั้งการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้เป็นเพียงการทดสอบระดับเซลล์ ควรมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมต่อไป

J Funct Foods 2017;31:198-207.