การศึกษาในผู้ป่วยที่ฟอกไตทางช่องท้อง จำนวน 36 คนอายุ 29-79 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับขิง ขนาด 1,000 มก./วัน (4 แคปซูล/วัน) เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่าในกลุ่มที่ได้รับขิงระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ไม่มีผลต่อระดับของสารกลุ่ม advanced glycation end products ได้แก่ carboxymethyl lysine และ pentosidine ที่เกิดจากขบวนการไกลเคชัน รวมทั้งไม่มีผลต่อ malondialdehyde ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress) และไม่มีผลต่อตัวชี้วัดการอักเสบของระบบในร่างกายและหลอดเลือด ได้แก่ high-sensitivity C-reactive protein, soluble intercellular adhesion molecule type 1 (sICAM-1), soluble vascular cell adhesion molecule type 1 (sVCAM-1), และ sE-selectin จึงสรุปได้ว่าการรับประทานขิงขนาด 1,000 มก. อาจมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะอินซูลินในเลือดสูง (hyperinsulinemia), ไขมันในเลือดสูง (dyslipidemia), พังผืดที่เยื่อบุช่องท้อง (peritoneal membrane fibrosis) และโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตทางช่องท้องได้
Nutrition 2015;31:703-7.