การทดลองในหลอดทดลอง พบว่าสาร α-mangostin และ δ-mangostin ที่แยกได้จากเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum สายพันธุ์ที่ดื้อต่อยารักษามาลาเรีย chloroquine (FCR3) ได้ (ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 0.2±0.01 และ 121.2±1.0 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ) โดย α-mangostin จะมีฤทธิ์ดีกว่า δ-mangostin สำหรับการทดลองในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ติดเชื้อ P. berghei เมื่อป้อนหนูด้วยสาร α-mangostin และ δ-mangostin ขนาด 100 มก./กก./วัน เป็นเวลา 7 วัน และให้โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง ขนาด 50 มก./กก./วัน หรือขนาด 100 มก./กก. 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน พบว่าการฉีดสารทั้ง 2 ชนิด ขนาด 100 มก./กก. 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 7 วัน จะให้ผลดีที่สุดในการลดจำนวนเชื้อ P. berghei โดยลดลงได้ 80.7% และ 79.9% ตามลำดับ ส่วนการให้ทางปากจะไม่มีผล สรุปว่าสารα-mangostin และ δ-mangostin จากเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ในการต้านมาลาเรียได้
Phytother Res 2015;29:11951201.