เหง้าของเอื้องหมายนา (Costus specious Koen) ใช้รักษาโรคหลายชนิดในอินเดีย นอกจากนั้นชาวอัสสัมใช้น้ำ และสารสกัดของเหง้าเอื้องหมายนา รักษาการทำงานของตับที่ผิดปกติรวมถึงตับอับเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ ฤทธิ์ต้านการก่อพิษในตับของสารสกัดน้ำและอัลกอฮอล์ของเหง้าเอื้องหมายนา ทดลอง โดยใช้ CCl4 และ Acetaminophen เหนี่ยวนำการทำลายตับในหนูขาว และใช้ silymarin ซึ่งเป็น สารที่สกัดได้จากพืชเป็นสารมาตรฐานเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านพิษต่อตับ เมื่อป้อนสารสกัดน้ำและอัลกอฮอล์ของเอื้องหมายนา ขนาด 300 และ 500 มก.ต่อ กก. ก่อนและหลังการให้ CCl4 1.5 มล.ต่อ กก. เข้าใต้ผิวหนัง และเมื่อป้อน Acetaminophen 3 กรัม ต่อ กก. สามารถยับยั้งพิษของ CCl4 ที่ทำให้ SGOT, SGPT, SALP, SSDH และ SGLDH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเปรียบเทียบจากเปอร์เซนต์การลดลงของเอนไซม์แต่ละตัว และ เอนไซม์ทั้งหมด พบว่า ความแรงของสารสกัดทั้งสองมีประสิทธิภาพดี (78.2 - 96.0%) เท่ากับ ขนาดของ silymarin และเมื่อนำชิ้นเนื้อเยื่อตับไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าเซลล์ของ เนื้อเยื่อตับเกิดการคืนสภาพเป็นปกติ
International Congress and 49th Annual Meeting of the Society of Medicinal Plant Research;Sep2-6;2001:108