ผลของการรับประทานแป้งกล้วยต่ออาการท้องผูก

ศึกษาผลของการรับประทานกล้วย (Musa ABB Bluggoe) ในรูปแบบของแป้งกล้วย (banana resistant starch) ต่ออาการท้องผูกในหนูเม้าส์ โดยทดลองป้อนแป้งกล้วยขนาดวันละ 1, 2 และ 4 ก./กก. น้ำหนักตัว ให้แก่หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องผูกด้วยการให้ยา diphenoxylate นานติดต่อกัน 7 วัน พบว่า ทางเดินอาหารของหนูกลุ่มที่ได้รับแป้งกล้วยขนาด 4 ก./กก. น้ำหนักตัว มีการเคลื่อนไหวและบีบไล่ตัว (gastrointestinal propulsive) เพิ่มขึ้น และการป้อนแป้งกล้วยขนาด 2 และ 4 ก./กก. มีผลร่นระยะเวลาในการเริ่มขับถ่าย (strart time of defecation) ให้เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการท้องผูกเพียงอย่างเดียว การป้อนแป้งกล้วยไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ปริมาณการกินได้ และลักษณะของอุจจาระที่ขับออกมา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแป้งกล้วยมีผลช่วยให้ทางเดินอาหารมีการบีบไล่ตัวและช่วยในการขับถ่ายเมื่อเกิดอาการท้องผูกได้

J Med Food 2014; 17(8): 902-7.