การศึกษาความเป็นพิษของแปะก๊วยต่อระบบสืบพันธุ์และการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์

การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย EGb 761® (Ginkgo biloba L.) ในหนูเม้าส์ที่ตั้งครรภ์ โดยป้อนสารสกัดจากแปะก๊วย EGb 761® ขนาด 100, 350 และ 1,225 มก./กก./วัน ให้หนูเม้าส์ระหว่างวันที่ 6 - 15 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงพัฒนาอวัยวะของตัวอ่อนในครรภ์ (organogenesis) แล้วทำการผ่าพิสูจน์ตัวอ่อนในครรภ์ในวันที่ 17 ของการทดลอง ผลการผ่าพิสูจน์ภายนอกและภายใน รวมทั้งการศึกษาโครงกระดูกและเนื้อเยื่อของตัวอ่อน ไม่พบความผิดปกติที่บ่งชี้ถึงความเป็นพิษต่อตัวอ่อน นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับสารสกัดจากใบแปะก๊วยระหว่างการตั้งครรภ์กับการเกิดทารกวิรูป ทารกพิการ หรือมีพัฒนาการช้า แสดงให้เห็นว่าขนาดสูงสุดของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยที่หนูเม้าส์ได้รับในขณะตั้งครรภ์ระยะตัวอ่อนพัฒนาอวัยวะ แล้วไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติแก่ตัวอ่อนในครรภ์ (no-observed-effect level: NOEL) คือ 1,225 มก./กก./วัน

Phytomedicine 2013;21:90-7