ศึกษาฤทธิ์ต้านอาการมึนเมาและปกป้องตับจากแอลกอฮอล์ของสารแอนโทไซยานินจากมันเทศในหนูเม้าส์เพศผู้ ซึ่งการทดสอบฤทธิ์ต้านอาการมึนเมาจะใช้วิธี righting reflex loss โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 และ 2 (กลุ่มควบคุมและกลุ่มเปรียบเทียบ) ให้น้ำเกลือเข้าทางกระเพาะอาหาร (intragastrically administered) กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 ให้สารแอนโทไซยานินขนาด 50, 125 และ 375 มก./กก. น้ำหนักตัว ตามลำดับ จากนั้น 30 นาที ให้แอลกอฮอล์เข้มข้น 50% ขนาด 18 มล./กก. น้ำหนักตัว แก่หนูในกลุ่มที่ 2 5 และทำการบันทึกพฤติกรรมของหนู ส่วนการทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับจากแอลกอฮอล์ ทำการทดลองทั้งการป้องกันระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลัน โดยการทดลองระยะเฉียบพลัน ทำการแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 12 ตัว) ให้น้ำเกลือและสารแอนโทไซยานินเช่นเดียวกับการทดลองแรก แต่ให้ทุกวัน นานติดต่อกัน 30 วัน โดยในวันสุดท้ายของการทดลองหลังจากให้สารแอนโทไซยานิน 4 ชั่วโมงแล้วจึงให้แอลกอฮอล์เข้มข้น 50% ขนาด 12 มล./กก. น้ำหนักตัว แก่หนูในกลุ่มที่ 2 5 ส่วนการทดลองในระยะกึ่งเฉียบพลันทำการแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 12 ตัว) ให้น้ำเกลือและสารแอนโทไซยานินในขนาดและระยะเวลาเช่นเดียวกันกับการทดลองระยะเฉียบพลัน และให้แอลกอฮอล์เข้มข้น 30% ขนาดวันละ 10 มล./กก. น้ำหนักตัว แก่หนูกลุ่มที่ 2 5 ในช่วงเวลา 14 วันก่อนเสร็จสิ้นการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการชำแหละซากและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจการเปลี่ยนแปลง ผลจากการทดลองพบว่า สารแอนโทไซยานินช่วยลดอาการมึนเมาจากการให้แอลกอฮอล์แก่หนูเม้าส์ได้ และมีผลลดระดับเอนไซม์ aspartate aminotransferase, alanine aminotransferase และ lactate dehydrogenase และลดระดับ malondialdehyde ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความเสียหายของตับ เพิ่มระดับเอนไซม์ superoxide dismutase และ glutathione ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีผลลดระดับ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ low-density lipoprotein cholesterol ในเลือด ทั้งในการทดสอบฤทธิ์การป้องกันแบบระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลัน แสดงให้เห็นว่าสารแอนโทไซยานินจากมันเทศมีฤทธิ์ต้านอาการมึนเมา และป้องกันตับเสียหายจากการได้รับแอลกอฮอล์ได้
J Agric Food Chem 2014; 62(11): 2364-73