การศึกษาฤทธิ์ต้านพิษงูของผลดีปลี (Piper longum L.) ในหนูเม้าส์ โดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (prophylactic immunization) ของหนูด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลจากผลดีปลี หรือสาร piperine ซึ่งเป็นสารสำคัญในผลดีปลี เข้าใต้ผิวหนังในขนาด 750 และ 4.5 มก./กก. ตามลำดับ (initial dose) และขนาด 375 และ 2.25 มก./กก. ตามลำดับ (หลังจาก initial dose 14 วัน) และในวันที่ 30 จึงนำเลือดของหนูมาทดสอบ การทดสอบด้วยวิธี lethality neutralization assay ทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง พบว่าในเลือดของหนูที่ได้รับการกระตุ้นภูมิ มีแอนติบอดี้ (antibodies) ต่อพิษของงูแมวเซา เช่นเดียวกับการทดสอบด้วยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และ double immunodiffusion test ก็พบว่าเลือดของหนูที่ได้รับการกระตุ้นภูมิ มีแอนติบอดี้ต่อพิษของงูแมวเซา นอกจากนี้ยังพบว่า เลือดของหนูที่ได้รับการกระตุ้นภูมิ มีฤทธิ์ต้านความเป็นพิษที่เกิดจากพิษของงูแมวเซาเมื่อทำการทดสอบทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากผลดีปลีและสาร piperine มีฤทธิ์กระตุ้นแอนติบอดี้และมีฤทธิ์ต้านพิษของงูแมวเซาเมื่อทำการทดสอบในหนูเม้าส์ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาเป็นยาต้านพิษงู
Phytomedicine 2014;21:159 - 63