ศึกษาฤทธิ์ลดความอ้วนของสารสกัด ginsennoside Rh1 จากโสม โดยทำการศึกษาทั้งแบบในหลอดทดลอง (in vivo) และในสัตว์ทดลอง (in vitro) การศึกษาแบบในหลอดทดลองทำโดยทดลองเลี้ยงเซลล์ตั้งต้นของเซลล์ไขมัน (preadipocyte 3T3-L1 cell line) ในจานเพาะที่มีอาหารเลี้ยงเซลล์ประกอบไปด้วยสารสกัด ginsennoside Rh1 จากโสม อยู่ปริมาณ 50 และ 100 มค.โมล เลี้ยงเซลล์ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ปริมาณความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์ 5.6% เมื่อครบ 8 วัน วิเคราะห์หาปริมาณไขมันด้วยวิธี Oil-Red Staining และ Lipid droplet extraction assay วัดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างไขมันด้วยวิธี Reverse transcription-polymerase chain reaction (RT-PCR) ส่วนการศึกษาในสัตว์ทดลองทำโดยการทดลองป้อนสารสกัด ginsennoside Rh1 จากโสม ขนาด 20 มก./กก./วัน ให้แก่หนูเม้าส์ที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูงมาก่อนหน้านั้นนาน 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับหนูเม้าส์ที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียว และหนูที่ถูกเลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันต่ำ เมื่อเลี้ยงครบ 8 สัปดาห์ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าชีวเคมีในเลือด และทำการชำแหละซากเก็บเนื้อเยื่อไขมันเพื่อนำไปวิเคราะห์หาเอนไซม์และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ไขมันด้วยวิธี Immunoblotting Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) และ Real time polymerase chain reaction ผลการทดลองพบว่าสารสกัด ginsennoside Rh1 จากโสม มีผลยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างไขมันในเซลล์ preadipocyte 3T3-L1 ซึ่งได้แก่ Peroxisome proliferator activated receptor γ (PPAR γ) CCAAT/enhancement-binding protein-α (C/EBP-α) Fatty acid synthase และ Adipocyte fatty acid-binding protein และผลจากการป้อนสารสกัด ginsennoside Rh1 ให้แก่หนูเมาส์พบว่า ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด น้ำหนักตัว และน้ำหนักของไขมัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียว และยังพบว่าการแสดงออกของโปรตีน PPAR γ C/EBP-α Fatty acid synthase Adipocyte fatty acid-binding protein F4/80 CD68 Tumor necrosing factor-α (TNF-α) Interleukin-6 (IL-6) และ Interleukin-1β (IL-1β) ในเนื้อเยื่อไขมันของหนูเมาส์ที่ป้อนสารสกัด ginsennoside Rh1 ลดลงเมื่อเทียบกับหนูเมาส์กลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีไขมันสูง จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัด ginsennoside Rh1 จากโสมมีฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงเซลล์ตั้งต้นไปเป็นเซลล์ไขมัน ยับยั้งการสร้างและสะสมไขมัน ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการใช้ควบคุมน้ำหนักได้
Biol. Pharm. Bull. 2013; 36(1): 102-7.