การศึกษาฤทธิ์ปกป้องและรักษาตับของใบผักบุ้งขัน โดยป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบผักบุ้งขันขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. ให้แก่หนูแรทติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ก่อนและหลังการกระตุ้นให้การทำลายตับในหนูแรทด้วยการป้อน carbon tetrachloride (CCl4) ขนาด 0.5 มล./กก. ต่อเนื่องกัน 5 วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากผักบุ้งขันออกฤทธิ์ปกป้องการทำลายของตับได้ดีเมื่อป้อนก่อนการได้รับสาร CCl4 โดยมีผลลดปริมาณเอนไซม์ alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase และ alkaline phosphatase รวมถึงลดปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ bilirubin และคอเลสเตอรอลได้ดีเทียบเท่ากับการให้ยาแผนปัจจุบัน silymarin ขนาด 100 มก./กก. และการป้อนสารสกัดจากผักบุ้งขันหลังการได้รับสาร CCl4 ก็แสดงผลการรักษาตับที่เกิดความเสียหายได้ดีเทียบเท่ากับการใช้ยา silymarin เช่นกัน นอกจากนี้การป้อนสารสกัดจากผักบุ้งขันทั้งก่อนและหลังการกระตุ้นให้เกิดการทำลายตับ ต่างมีผลลดระยะเวลาการหลับจากการชักนำด้วย pentobarbital (pentobarbitone sleeping time) ซึ่งบ่งชี้ถึงการกระตุ้นการเมตาบอลิสมของตับ รวมถึงการปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อตับได้ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดเมทานอลจากใบผักบุ้งขัน สามารถออกฤทธิ์ปกป้องตับจากการทำลายด้วย CCl4 ได้ดีทั้งก่อนและหลังการได้รับสาร
J Ethnopharmacol 2012;142:642-6