เภสัชวิทยา และพิษวิทยาของน้ำมันยี่หร่า ต่อการหดเกร็งตัวของมดลูก

การรักษาอาการปวดระดูที่ได้ผลจะใช้ยาที่ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกรนดิน (prostaglandin; PGE2) ได้แก่ ยาจำพวก NSAIDs (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs)และยาที่ลดภาวะหดเกร็งของมดลูกที่มากเกินไป ได้แก่ ยากลุ่ม beta 2 - stimulator หรือ Calcium Channel Blocker ยาเหล่านี้หากใช้ในระยะยาวจะให้ผลข้างเคียง จึงมีความพยายามค้นหาสารอื่นที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า ผลการคัดเลือกได้ น้ำมันยี่หร่า ( Fennel essential oil ; FEO) ( Cuminum cyminum L. ) เนื่องจากเมล็ดยี่หร่ามีสรรพคุณพื้นบ้านใช้รักษาอาการปวดระดูได้ จากการทดลอง ทำให้เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมดลูกที่ตัดแยกจากตัวด้วย oxytocin และ prostaglandin พบว่า น้ำมันยี่หร่า สามารถลดความรุนแรงของการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ FEO ยังสามารถลดความถี่ของการหดเกร็งที่เกิดจาก PGE2 ได้ แต่ไม่ให้ผลกับ oxytocin ค่า LD50 ของน้ำมันยี่หร่ามีค่า 1,326 มก./กก. และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะสำคัญเมื่อผ่าตรวจซากสัตว์ทดลอง

Journal of Ethnopharmacology 2001; 76: 299-304