ศึกษาฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิหนังของอบเชยจีน ในหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนังด้วยการทา DfE ointment ซึ่งเป็นแอนติเจนของไรฝุ่นบ้าน (House dust mite) 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 3 สัปดาห์ ในครั้งที่ 4 ของการทา DfE ointment (วันที่ 11 ของการทดลอง) เริ่มทาสารสกัดเอทานอลจากเปลือกของต้นอบเชยจีน และทาสารสกัดอบเชยจีนให้หนูต่อเนื่องไปทุกวัน วันละครั้ง เป็นเวลา 23 วัน สังเกตอาการผื่นภูมิแพ้ที่ผิวหนังของหนูและทำการบันทึกผล ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเอทานอลอบเชยจีนมีผลบรรเทาอาการผื่นภูมิแพ้บนผิวหนังของหนู นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ค่าอิมมูโนวิทยา (immunological) ในเลือดของหนูยังพบว่าค่าพารามิเตอร์ที่บ่งชี้ถึงการเกิดภาวะการอักเสบและภูมิแพ้ได้แก่ Immunoglobulin E (IgE), Tumor necrosing factor-α (TNF-α), และ histamine ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และบริเวณผิวหนังที่มีอาการแพ้พบว่าสารสกัดอบเชยจีนมีฤทธิ์ยับยั้งแสดงออกของโปรตีน interleukin-4, TNF-α, และ activation-regulated chemokine (TARC) จากผลการศึกษาดังกล่างแสดงให้เห็นว่าอบเชยจีนมีฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้
J Ethnopharmacol. 2011; 133: 621-28