การศึกษาแบบข้ามกลุ่ม (crossover designX ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน จำนวน 22 คน เป็นชาย 7 คน หญิง 15 คน อายุเฉลี่ย 38.6 ± 8.5 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 27.7± 2.0 กก./ม2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานอาหารที่รักษาสุขภาพร่วมกับกิมจิหมัก 300 กรัม/วัน (100 กรัม/มื้ออาหาร) นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 รับประทานอาหารที่รักษาสุขภาพร่วมกับกิมจิสด 300 กรัม/วัน (100 กรัม/มื้ออาหาร) นาน 4 สัปดาห์ จากนั้นทำการสลับกลุ่มโดยมีช่วงหยุดพัก 2 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มที่รับประทานกิมจิหมัก และกิมจิสด น้ำหนักร่างกาย ดัชนีมวลกาย และไขมันในร่างกายลดลง ในกลุ่มที่รับประทานกิมจิหมักพบว่าอัตราส่วนระหว่างเอวต่อสะโพกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่กลุ่มที่รับประทานกิมจิสดไม่มีผล นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาล ระดับอินซูลิน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ความดันโลหิตของกลุ่มที่รับประทานกิมจิหมักลดลงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานกิมจิสด จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการรับประทานกิมจิหมัก หรือกิมจิสดมีผลทำให้น้ำหนักร่างกาย ดัชนีมวลกาย และไขมันในร่างกายลดลง แต่การรับประทานกิมจิหมักจะมีผลในการลดอัตราส่วนระหว่างเอวต่อสะโพก ระดับน้ำตาล ระดับอินซูลิน ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และความดันโลหิตได้มากกว่ากิมจิสด ดังนั้นการรับประทานกิมจิหมัก หรือกิมจิสดน่าจะมีประโยชน์ในการลดภาวะเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเมตา-บอลิกซินโดรมในผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนได้
Nutritional Research 2011;31:436-443.