ฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วย และคัดแยกเอาเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีชี้วัด (biomarker) ของการเกิดภาวะเครียด หรือเกิดสารต้านอนุมูลอิสระขึ้น ได้แก่ malondialdehyde (MDA), reduce glutathione (GSH), membrane sulfhydryl (-SH) group และปริมาณของโปรตีนคาร์บอนิล (carbonyl content) และในการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ (-) Epicatechin ทำการศึกษาโดยนำเซลล์เม็ดเลือดแดงมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสาร (-) Epicatechin เป็นส่วนประกอบอยู่ที่ความเข้มข้น 10-4-10-7 mol/L การวัดความเข้มข้นของเอ็นไซม์ MDA ทำได้โดยนำเม็ดเลือดแดงทำปฏิกิริยากับ thiobarbituric acid แล้ววัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 532 และ 600 นาโนเมตร แล้วนำค่าที่ได้มาคำนวณหาปริมาณ MDA ที่เพิ่มขึ้น ส่วนการวิเคราะห์หาปริมาณ GSH และ –SH group ทำโดยอาศัยหลักการความสามารถของหมู่ sulphydryl ในการลดปริมาณ 5,5’-dithiobis, 2-nitrobenzoic acid (DTNB) และสร้างสารประกอบ anionic สีเหลือง และคำนวณค่าการดูดกลืนแสงที่วัดได้ที่ 412 นาโนเมตร และการวิเคราะห์หาปริมาณของโปรตีนคาร์บอนิล ทำโดยวิธี 2’4 di-nitro phenyl hydrazine (DNPH) assay นำค่าที่วิเคราะห์ได้มาเปรียบเทียบกันระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เติม และไม่เติม (-) Epicatechin ผลจากการศึกษาพบว่า (-) Epicatechin สามารถลดปริมาณเอ็นไซม์ MDA และปริมาณของโปรตีนคาร์บอนิล ในขณะเดียวกันก็พบว่าปริมาณเอ็นไซม์ GSH และ membrane sulfhydryl (-SH) group เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าค่าความเข้มข้นของ (-) Epicatechin ที่ให้ผลในการต้านการเกิดอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดคือ 10-4 mol/L ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสาร (-) Epicatechin มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจจะนำสาร (-) Epicatechin จากชาเขียวมาประยุกต์เพื่อลดอนุมูลอิสระในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงได้

Phytother Res. 2010; 24(10): 1433-6.