ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมในหนูแรท

การศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งที่ความเข้มข้น 1 - 300 ไมโครกรัม/มล. ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมของหนูแรทเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัวด้วยสารคาบาคอล (cabachol) ขนาด 10 ไมโครโมลาร์ นาน 10 นาที ในแต่ละช่วง พร้อมกับให้หรือไม่ให้ indomethacin (สารยับยั้งการสร้างพรอสต้าแกลนดิน 10 ไมโครโมลาร์), L-N-metyl-nitro-arginine (สารยับยั้ง K+ channel 100 ไมโครโมลาร์), hexamethonium (สารยับยั้งการสร้างไนตริกอ๊อกไซด์ 500 ไมโครโมลาร์) หรือ tetraethylammonium (สารยับยั้งการทำงานของปมประสาท 5 มิลลิโมลาร์) พบว่าน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งความเข้มข้น 100 และ 300 ไมโครกรัม/มล. สามารถต้านการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารคาบาคอลได้ โดยที่ความเข้มข้น 100, 300 ไมโครกรัม/มล. มีผลให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมคลายตัว 23.0 ± 8.6% และ 111.0 ± 5.8% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ให้สารที่ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และความเข้มข้นที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมคลายตัวได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 106.33 ± 15.46 ไมโครกรัม/มล. สาร indomethacin, L-N-metyl-nitro-arginine) และ hexamethonium ลดผลน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งที่ความเข้มข้น 300 ไมโครกรัม/มล. โดยกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมคลายตัวลดลง 63%, 59%, 49% ตามลำดับ ส่วน tetraethylammonium ไม่มีผลต่อน้ำมันสะระแหน่ฝรั่ง จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งสามารถต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดลมของหนูแรทได้ โดยไปยับยั้งการสร้างสารพวกพรอสต้าแกลนดิน (prostaglandin E2) และไนตริกอ๊อกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งการศึกษานี้น่าจะมีประโยชน์ในการใช้การรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ

J Ethnopharmacology 2010;130;433-6.